นิทรรศการดาราศาสตร์และอวกาศ


มนุษย์เราทั้งหลายสังเกตท้องฟ้า และดวงดาวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และได้พยายามค้นหาคำตอบว่า ดาวแต่ละดวงกำเนิดมาได้อย่างไร และดวงดาวเองก็มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก จากหลักฐานการก่อสร้างที่สร้างให้สัมพันธ์กับดวงดาว ทำให้รู้ว่ามนุษย์เฝ้ามองการขึ้นตกของดวงดาวเสมอ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันได้นำพามนุษย์ไปรู้จักกับจักรวาลอันกว้างไกล นิทรรศการดาราศาสตร์และอวกาศ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 โซน ดังนี้

1.พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย   
      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านดาราศาสตร์ โดยทรงศึกษาวิชาการด้านนี้ด้วยพระองค์เองจากตำราโหราศาสตร์ไทยและตำราโหราศาสตร์สากล ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านคลองลึก ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้อย่างแม่นยำ ทั้งๆที่ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี และวันที่ 14 เมษายน 2525 รัฐบาลพลเอกเปรมติณสูลานนท์ ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
2.ระบบสุริยะ (Solar System)
     ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้นแรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมาก ทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์
    ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ
    ดาวพุธ อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ตอนใกล้ค่ำและช่วงรุ่งเช้า ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารดาวศุกร์ สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า “ดาวประจำเมือง” (Evening Star)
    โลก เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
    ดาวอังคาร อยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและฝุ่นอยู่เสมอ
    ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซ หรือของเหลวขนาดใหญ่ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก
    ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ประกอบไปด้วยก๊าซและของเหลว มีสีค่อนข้างเหลือง ลักษณะเด่นของดาวเสาร์คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็กๆ หลายชนิดที่หมุนรอบดาวเสาร์ มีวงแหวนจำนวน 3 ชั้น
    ดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว
    ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเท่ากับ 165 ปี
3. สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีวีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้
4. จันทรุปราคา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์เรียงอยู่ในแนวเดียวกันพอดี หากเกิดขึ้นในช่วงพระจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงจันทร์ผ่านเงาของโลกจะเรียกว่า จันทรุปราคา ปรากฏการณ์จันทรุปราคาแม้จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อในหลายวัฒนธรรมมาช้านานรวมทั้งของไทยด้วย ซึ่งลักษณะของจันทรุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกในเวลานั้น
5. เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อนทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น
      สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station : ISS) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก
     ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
     สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ขึ้นไปโคจรในอวกาศ เป็นการเริ่มต้นของยุคอวกาศ
     ยานวอยเอจเจอร์ (Voyager) มีเป้าหมายเบื้องต้นคือ การสำรวจดาวเคราะห์  วงนอก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
6.ชีวิตและจักรวาล ดวงดาวมีช่วงชีวิตยาวนานเมื่อเทียบกับชีวิตของมนุษย์ ดูเหมือนเป็นเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ แต่แท้จริงแล้วทุกสรรพสิ่งในจักรวาลรวมทั้งดวงดาวไม่มีสิ่งใดหนีพ้นกฎแห่งธรรมชาติได้เลยกล่าวคือเมื่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และต้องดับสลายไปเป็นธรรมดาตามหลักแห่งพุทธศาสนาที่เรียกว่า กฎไตรลักษณ์