นิทรรศการท่องแดนเอกภพ


นิทรรศการท่องแดนเอกภพเป็นนิทรรศการที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับเอกภพหรือ จักรวาล ไม่ว่าจะเป็นตำนานความเชื่อ สถานที่ที่เคยเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ในยุคต่างๆ เรื่องราวเกี่ยวกับระบบสุริยะ ดาราจักร ท้องฟ้าและดวงดาว  แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 โซน ดังนี้

1. เอกภพ เป็นคำเรียกของทุกๆสรรพสิ่ง ทั้งดาราจักร กระจุกดาว ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ รวมทั้งพลังงานและสสารต่างๆซึ่งทั้งหมดเหล่านี้อยู่รวมกันภายในเอกภพ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเอกภพมีอายุประมาณ 13,000 ล้านปี และมีขนาดที่กว้างใหญ่ประมาณ 91,000 ล้านปีแสง
2. สถานที่และวัตถุสำคัญในประวัติดาราศาสตร์โบราณ
2.1 วงหินสโตนเฮจน์ อนุสรณ์สถานที่ตั้งอยู่บนที่ราบซอลส์บรีทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษนักดาราศาสตร์เชื่อว่าวงหินสโตนเฮจน์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นปฏิทินหรืออาจใช้เพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์
2.2 วัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1686 โดยคณะบาทหลวงเยสุอิส (Les Jesuites) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
2.3 ปฏิทินชนเผ่ามายา เป็นปฏิทินที่ถูกสร้างขึ้นโดยชนเผ่ามายาเมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในดินแดนยูคาทานแถบๆ ประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา
3. ความเชื่อเกี่ยวกับเอกภพของนักวิทยาศาสตร์ 2 ยุค โดยเคลาดิอุส ทอเลมี หรือ ปโตเลมี (ค.ศ.87 - 150) ได้สร้างแบบจำลองจักรวาลขึ้นมา ซึ่งพยากรณ์การเคลื่อนที่และการทำงาน ของทรงกลมท้องฟ้าได้อย่างแม่นยำ ปโตเลมีได้มีความเชื่อเช่นเดียวกันกับอริสโตเติลว่า โลกหยุดนิ่งกับที่ดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างๆ โคจรรอบโลก
นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (ค.ศ.1473 – 1543) เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่าดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ แต่การนำเสนอทฤษฎีดังกล่าว
ต่อสาธารณะชนก็ได้เกิดขึ้นหลังจากที่โคเปอร์นิคัสเสียชีวิตไปแล้ว แนวคิดของโคเปอร์นิคัสกล่าวว่า โลกและดาวเคราะห์ต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม โดยที่โลกมีลักษณะเป็นทรงกลมและหมุนรอบตัวเองไปด้วยในระหว่างการโคจรมีคาบการหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง และคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วัน โดยเรียกระบบนี้ว่า “Heliocentric” แต่งานดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับจากศาสนจักรในยุคนั้น
กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นนักคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นบุคคลแรกที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูหลุมบนดวงจันทร์ เมื่อปี ค.ศ. 1609 นอกจากนี้ยังสามารถเห็นรายละเอียดของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เช่นวงแหวนของดาวเสาร์ มองเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวเหมือนดวงจันทร์ และการค้นพบดวงจันทร์เป็นบริวาร 4 ดวงใหญ่ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัสที่ว่า“ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของระบบสุริยะ”และนับได้ว่ากาลิเลโอคือผู้เริ่มต้นในการศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่ผ่านเครื่องมือที่ช่วยให้สังเกตดวงดาวได้มากกว่าที่ตามองเห็น อย่างไรก็ตามการค้นพบและทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะยังไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากขัดต่อหลักของศาสนา
คริตส์ในยุคนั้นและเป็นเหตุให้กาลิเลโอต้องได้รับโทษ 
4.ประโยชน์ของกลุ่มดาว
1) ใช้บอกวันและเวลา มนุษย์ใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นการบอกเวลาเช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น และใช้ดวงดาวในการบอกเวลาช่วงกลางคืน และมีการพัฒนามาเป็นเวลา 24 ชั่วโมงอย่างในปัจจุบัน
2) ใช้บอกฤดูกาล เช่น ชาวนาไทยจะสังเกตดวงอาทิตย์ที่เอียงลงไปทางใต้ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวและตรงกับจังหวะที่ข้าวออกรวงเป็นสีเหลือง คนไทยจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ตะวันอ้อมข้าว”
3) ใช้บอกทิศทาง โดยใช้ดาวเหนือเป็นดาวบอกตำแหน่งทางทิศเหนือ เนื่องจากดาวเหนือไม่เคลื่อนที่ไปไหนไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ชั่วโมงก็ตาม ดาวเหนือยังอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา
4) ให้ความเพลิดเพลิน และเกิดความผูกพันในครอบครัวจากการนั่งดูกลุ่มดาวด้วยกันและสอดแทรกการอบรมสั่งสอนผ่านนิทานเกี่ยวกับกลุ่มดาว”